โดย Chavi Jafa, หัวหน้าสายงาน Visa Business Solutions ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
มิถุนายน 2564
ด้วยรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและเศรษฐกิจโลกมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศจึงมีความซับซ้อนและมีพลวัตมากยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์เหล่านี้ต้องปรับตัวเมื่อห่วงโซ่อุปทานก็ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อรับข้อตกลงการค้าเสรีใหม่ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และการขยายตัวของตลาดอิเล็กทรอนิกส์…นี่ยังไม่ได้พูดถึงโรคระบาดครั้งใหญ่ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก
ความเชื่อมั่นในวิธีการแลกเปลี่ยนมูลค่าส่งผลกระทบต่อความพร้อมของธุรกิจในการใช้ประโยชน์จากโอกาสทางการค้า ดังนั้นกุญแจสำคัญประการหนึ่งก็คือ การที่สถาบันการเงินสามารถช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถแลกเปลี่ยนมูลค่าได้ ไม่เพียงแต่ต้องเป็นวิธีที่ง่ายและน่าเชื่อถือเท่านั้น แต่ยังต้องให้สอดคล้องกันตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอีกด้วย ความสามารถในการปรับตัวของโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินเพื่อรองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจกำลังทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
เพื่อเตรียมความพร้อมในอนาคต สถาบันการเงินจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินในปัจจุบันนี้ เพื่อจัดการด้านการรักษาความปลอดภัย การตรวจสอบยืนยันตัวตน และการแลกเปลี่ยนมูลค่าที่คาดการณ์ได้
ในการเริ่มต้น การชำระเงินระหว่างประเทศต้องเผชิญกับความซับซ้อนโดยธรรมชาติเมื่อการชำระเงินจำเป็นต้องผ่านเขตอำนาจศาลหลายแห่ง ซึ่งฝ่ายต่างๆ ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น เมื่อการชำระเงินถูกส่งไปยังประเทศไทย จะต้องระบุหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีในคำสั่งชำระเงิน แต่หากเป็นที่อินเดียสิ่งที่จำเป็นคือรายละเอียดของจุดประสงค์การชำระเงิน การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้นำไปสู่ความล่าช้าและความยุ่งยากสำหรับธุรกิจ รัฐบาลเป็นกุญแจสำคัญในการส่งเสริมความง่ายและความสามารถในการทำงานร่วมกันของระบบการชำระเงินที่หลากหลาย เพื่อลดอุปสรรคในการส่งโอนชำระเงินระหว่างประเทศ ในยุโรป Single Euro Payments Area (“SEPA”) เป็นหนึ่งตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จของการประสานกันของระบบการชำระเงินระดับภูมิภาคภายใต้กรอบการกำกับดูแลและสกุลเงินเดียว แม้ว่าจะไม่มีสถาบันพหุภาคีที่มีศักดิ์และสิทธิ์เท่าเทียมกันในภูมิภาคเอเชีย แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดทำข้อตกลงการค้าระดับภูมิภาค อย่างเช่น ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานให้เข้ากับท้องถิ่นทั่วทั้งภูมิภาค และ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ความร่วมมือในระดับนี้มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ อย่างเช่น RCEP ซึ่งครอบคลุมประมาณ 30% ของ GDP โลก และหนึ่งในสามของประชากรโลกและมีขนาดใหญ่กว่าข้อตกลงทางการค้าในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา-เม็กซิโก-แคนาดา และ CPTPP ซึ่งไม่นับรวมจีน1
ความสนใจของรัฐบาลพหุภาคีนี้สมควรอย่างยิ่งเนื่องจากการเติบโตอย่างยั่งยืนของการค้าภายในเอเชีย ซึ่งห่วงโซ่อุปทานยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างที่ดีคือ ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีการบูรณาการระบบห่วงโซ่อุปทานทั่วประเทศจีนและหลากหลายประเทศในอาเซียน รวมทั้งมาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม เนื่องจากมีการนำเข้า ประกอบ และส่งออกสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่ความร่วมมือระดับภูมิภาคที่นำโดยรัฐบาลช่วยส่งเสริมการสร้างมาตรฐาน ธุรกิจต่างๆ แลกเปลี่ยนมูลค่ากันทั่วโลก ภาคเอกชนเองก็มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันทั่วโลกต่อไป
ท่ามกลางข้อกำหนดที่หลากหลาย มีข้อตกลงกว้างๆ นั่นก็คือความปลอดภัยต้องมาก่อน การใช้เทคโนโลยีใหม่ภายในเครือข่ายของผู้เข้าร่วมซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างดีอยู่แล้วเพื่อสนับสนุนการกำหนดมาตรฐานของข้อกำหนดที่หลากหลายสามารถสร้างความยืดหยุ่นให้แก่สถาบันการเงินได้ตามต้องการ ในขณะเดียวกันก็ช่วยรับรองความเข้มงวดของการกำกับดูแลและการควบคุม นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนข้อกำหนดของระบบการชำระเงินภายในประเทศและรูปแบบข้อความเฉพาะประเทศให้สอดคล้องกันในวิธีที่ง่ายแล้ว กรอบการทำงานงานการปกป้องข้อมูลสามารถลดค่าและปกป้องข้อมูลบัญชี ในขณะที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำการระบุและต่อสู้กับการฉ้อโกง ความสามารถที่เพิ่มมูลค่ายังช่วยเพิ่มชั้นของการรักษาความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือให้กับธุรกรรมทั่วโลกได้อีกด้วย
ด้วยการที่มีการเพิ่มจำนวนอย่างมากมายในวิธีการเคลื่อนย้ายเงิน มาตรฐานและความสามารถในการทำงานร่วมกัน จะทำให้การเปิดใช้งานการมีส่วนร่วม การรักษาความปลอดภัย และประสิทธิภาพของการเคลื่อนย้ายเงินในทุกกระแส มีความสำคัญขึ้นมาอีกครั้ง มาตรฐานเครือข่ายทั่วโลกมอบประสบการณ์การทำงานร่วมกัน ซึ่งควบคุมโดยชุดของกฎการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายเงินหรือสิ่งมีมูลค่ารูปแบบอื่นๆ ข้ามเครือข่ายได้แบบครบวงจร2
มาตรฐานเครือข่ายทั่วโลกมอบประสบการณ์การทำงานร่วมกัน ซึ่งควบคุมโดยชุดของกฎการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายเงินหรือสิ่งมีมูลค่ารูปแบบอื่นๆ ข้ามเครือข่ายได้แบบครบวงจร
ระเบียบข้อบังคับท้องถิ่นกำหนดให้ต้องระบุตัวตนของบุคคลที่ทำธุรกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับการชำระเงิน และรายละเอียดเพิ่มเติมต่างๆ เช่น วัตถุประสงค์ของการชำระเงิน มาตรฐาน KYC เหล่านี้แตกต่างกันไปทั่วโลก แต่รวมเป็นหนึ่งเดียวกันในการกำหนดเงื่อนไขที่ว่าการชำระเงินแบบไม่ระบุชื่อไม่ใช่ตัวเลือกสำหรับหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล
ในขณะที่เศรษฐกิจชั้นนำหลายแห่งกำลังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการเชื่อมโยงการชำระเงินกับข้อมูลประจำตัวดิจิทัลในประเทศ ความท้าทายสำหรับธุรกรรมทางบัญชีระหว่างประเทศกับการชำระเงินผ่านบัญชีก็คือ ไม่มีตัวตนทางธุรกิจซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วโลก ข้อมูลประจำตัวที่ทำงานร่วมกันได้ทั่วโลกเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนประสบการณ์ดิจิทัลสำหรับลูกค้า และทำให้เกิดระบบอัตโนมัติของกระบวนการสำหรับสถาบันการเงิน ข้อมูลประจำตัวดิจิทัลช่วยให้ตรวจสอบก่อนการรับรองความถูกต้องของข้อมูลโดยอัตโนมัติ และช่วยให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการคัดกรองธุรกรรมและการรายงานด้านกฎระเบียบ นี่คือช่องโหว่สำหรับการประมวลผลการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งจะทำให้ธุรกิจมีความมั่นใจที่จำเป็นต่อการทำธุรกรรมกับประสบการณ์ดิจิทัลที่พวกเขาต้องการ
นอกจากการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานแล้ว โลกยังจับตาดูการพัฒนาทางนวัตกรรมด้านต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาการชำระเงินระหว่างประเทศโดยใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) เช่น โครงการนำร่องระหว่างสิงคโปร์และแคนาดา ตลอดจนฮ่องกงและไทย3 ย่างก้าวของการเปลี่ยนแปลงเน้นไปที่การเข้าร่วมระบบการชำระเงินและการสร้างความสามารถทำงานร่วมกันในระดับภูมิภาคหรือระดับโลกก็ตามล้วนแต่มีซับซ้อน เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น กฎระเบียบจะช่วยเร่งให้เกิดนวัตกรรมต่อไป ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมต้องมีความยืดหยุ่นในการพัฒนาแบบจำลองดั้งเดิม และพัฒนาไปให้ไกลกว่าการประมวลผลธุรกรรม การหักบัญชี และการชำระบัญชี ไปสู่บริการโอเวอร์เลย์ เช่น ข้อมูล ระบบอัจฉริยะ ความปลอดภัย และความสามารถในการบริหารความเสี่ยง4 เครือข่ายทั่วโลกที่มีความสามารถในการสนับสนุนรูปแบบการชำระเงินด้วยสิ่งมีมูลค่ารูปแบบใหม่ๆ จะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถพัฒนาความสามารถของตนให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าธุรกิจได้
บริการชำระเงินที่ขึ้นอยู่กับหลักการพื้นฐานที่ดีเพื่อรองรับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดที่อุตสาหกรรม จะต้องเผชิญกับการก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของนวัตกรรมอย่างไม่ต้องสงสัย
บริการชำระเงินที่ขึ้นอยู่กับหลักการพื้นฐานที่ดีเพื่อรองรับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดที่อุตสาหกรรม จะต้องเผชิญกับการก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของนวัตกรรมอย่างไม่ต้องสงสัย เนื่องจากบรรทัดฐานเดิมที่ได้มีการจำกัดความใหม่ มีความโปร่งใส ไว้วางใจ และมีการปรับลด ทำให้จะยังคงเป็นตัวสร้างความแตกต่างที่สำคัญ โดยมีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือเป็นคุณลักษณะยอดนิยมที่บริษัทให้ความสำคัญเพื่อที่จะปรับปรุงประสบการณ์การชำระเงิน5 เครือข่ายระดับโลกที่มีความสามารถด้านการเคลื่อนย้ายเงิน อย่างเช่น Visa B2B Connect และ Visa Direct เป็นปัจจัยที่ทำให้สถาบันการเงินปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และขจัดความไม่ลงรอยกันจากการเคลื่อนย้ายเงินระหว่างหลายฝ่ายในห่วงโซ่อุปทาน การแลกเปลี่ยนมูลค่าที่คาดการณ์ได้ไม่ได้เป็นเพียงการจัดการกับต้นทุนและความรวดเร็วโดยการเปลี่ยนเส้นทางการชำระเงินจากธนาคารต้นทางไปยังธนาคารผู้รับผ่านเครือข่ายพหุภาคีระดับโลกเท่านั้น แต่เป็นการใช้กระบวนการบริหารความเสี่ยงที่ครบถ้วนเพื่อให้มั่นใจยังคงมีการกำกับดูแลและการควบคุมเพื่อปกป้องทุกฝ่ายอยู่
ในขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ โอกาสใหม่ในการเติบโตก็จะเริ่มปรากฏให้เห็น ธุรกิจต่างๆ ให้ความสำคัญกับการสร้างความยืดหยุ่นโดยการปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานและเพิ่มประสิทธิภาพของประสบการณ์ลูกค้าและการดำเนินงานผ่านระบบดิจิทัล สถาบันการเงินจำเป็นต้องฝังตัวเลือก ความยืดหยุ่น และการเข้าถึงทั่วโลกลงไปในโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของพวกเขาในวันนี้ เพื่อให้พวกเขาสามารถเติบโตได้ ความสามารถในการเคลื่อนย้ายเงินของ Visa กำลังเสริมอำนาจให้สถาบันการเงินซึ่งพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการชำระเงินระหว่างประเทศ เลิกใช้กระบวนการแบบเดิมๆ และระบบการทำงานแบบแยกส่วน เพื่อกระตุ้นนวัตกรรม